♥♥♥ ยินดีต้อนรับเข้าสู่สื่อการเรียนการสอน "ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์" (^-^)♥♥♥

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หน่วยความจำ (computer memory)

หน่วยความจำ (computer memory)  
               คือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่งเพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
-  หน่วยความจำหลัก หรือหน่วยความจำภายใน (Primary Memory, Internal Memory)    คือ เป็นหน่วยความจำ ที่ใช้เก็บ  โปรแกรมข้อมูล ผลลัพธ์ ไว้ภายในเครื่องมี 2 ชนิดคือ
              .Read Only Memory : ROM  เป็น หน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตได้เขียนบันทึก ไว้อย่างถาวรแม้ทำการปิดเครื่องก็จะไม่ถูกลบไป เป็นหน่วยความจำที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในหน่วยความจำชนิดนี้ได้
             ข.Random Access Memory : RAM เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรม  ซึ่งสามารถเปลี่ยนแแปลง และเรียกใช้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ยังเปิดใช้งานอยู่ และจะถูกลบหายไปเมื่อเครื่องปิด   


แรม (RAM)


-   หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยความจำภายนอก (Secondary Memory or External
Memory)   เป็นหน่วยความจำที่มิได้ติดอยู่กับเครื่องตลอดเวลา   สามาถเคลื่อนย้ายไปมาได้ มีราคาถูกสามารถเก็บข้อมูลได้มากที่นิยมใช้ปัจจุบันเป็นประเภทของ Diskette 3.5 นิ้ว(ความจุ1.44 MB.) แผ่น Compact Disc: CD(ความจุ 650 MB.) ซึ่งCompact Disc นี้กำลังเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนืาองจากสามารถเขียนและอ่านได้เป็นอย่างดีจึงสามารถทำงานได้เทียบกับหน่วยความจำหลัก

ฮาร์ดดิสก์ (Hardisk) เป็น หน่วยความจำรอง ที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไฟล์งานที่ทำจากโปรแกรมต่าง ๆ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพยนต์ ไฟล์เพลง MP3 เป็นต้น เนื่องจากมีความจุข้อมูล 40-80 กิกะไบต์ ซึ่งถือว่ามากกว่าสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ

หน่วยแสดงผล ( Output Unit)

หน่วยแสดงผล ( Output Unit)
                หน่วยแสดงผล ( Output Unit ) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณหรือการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบหรือนำไปใช้งาน หน่วยแสดงผลที่สำคัญ ได้แก่
จอภาพ ( Monitor)ใช้ ทำหน้าที่แสดงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ได้จากการประมวลผลแล้ว ที่ใช้กันมากที่สุดในเวลานี้ จอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ มีทั้งชนิดที่แสดงภาพเป็นสีเดียว คือ สีเขียว สีอำพัน หรือสีขาว และชนิดที่แสดงภาพสีได้ ขณะที่จอภาพของคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ วางตัก หรือสมุดบันทึก จะมีลักษณะเป็นจอภาพแบนๆ เพราะใช้เทคโนโลยีผลึกเหลวจึงเรียกกันว่าจอภาพผลึกเหลว ( Liquid Cryptal Display : LCD ) จอภาพชนิดนี้มีทั้งชนิดเป็นภาพสีเดียวและชนิดแสดงภาพสีได้

จอภาพของไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป

จอภาพผลึกเหลว ( Liquid Cryptal Display : LCD )
          - เครื่องพิมพ์ ( Printer ) เป็น หน่วยแสดงผล ในรูปแบบผลลัพธ์ของข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์หลายแบบ และเหมาะสำหรับใช้เวลาต้องการเก็บผลลัพธ์ของงานเอาไว้อ้างอิง ซึ่งเรียกกันว่าเป็นผลลัพธ์ถาวร ( Hard Copy ) เครื่องพิมพ์ที่มีจำหน่ายอยู่เวลานี้มีหลายประเภทเช่น
ก. เครื่องพิมพ์แบบบรรทัด ( Line Printer ) ตามปกตินิยมใช้ในงานที่ต้องการพิมพ์ผลลัพธ์จำนวนมากๆ สามารถพิมพ์ได้ทีละบรรทัด โดยมีความเร็วตั้งแต่ 300 บรรทัดต่อนาที ขึ้นไป
             . เครื่องพิมพ์แบบเข็ม ( Dot Matrix Printer ) ตามปกตินิยมใช้กับเครื่อไมโครคอมพิวเตอร์ การพิมพ์ใช้เข็มพิมพ์ จำนวน 9 เข็ม หรือ 24 เข็ม
เครื่องพิมพ์แบบเข็ม ( Dot Matrix Printer )
  ค. เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ( Laser Printer ) ตามปกตินิยมใช้ในงานพิมพ์ผลลัพธ์ ที่ต้องการคุณภาพสูง และมีความรวดเร็วในการพิมพ์ โดยการพิมพ์กระดาษขนาด A4 ประมาณ นาทีละ 8-10 แผ่น การทำงานใช้หลักการแบบเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารชนิดไฟฟ้าสถิต และอาจพิมพ์ภาพเป็นสีได้ด้วย

เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ( Laser Printer )
      ง. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก ( Ink Jet Printer ) เป็น เครื่องพิมพ์แบบที่ใช้การพ่นละอองหมึกไปปรากฏบนกระดาษ และสามารถพิมพ์ภาพสีได้ด้วย แต่การพิมพ์ผลลัพธ์อาจใช้เวลานาน โดยการพิมพ์กระดาษขนาด A4 ประมาณ 15-30 นาที/แผ่น

เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก ( Ink Jet Printer )
             จ. เครื่องพิมพ์แบบวาด ( Plotter ) เป็นอุปกรณ์สำหรับวาดแบบ แผนที่หรือภาพอื่นๆ นิยมใช้งานที่เกี่ยวกับวิศวกรรม สถาปัตยกรรม งานออกแบบ 
เครื่องพิมพ์แบบวาด ( Plotter)
- ลำโพง ( Speaker ) นิยม ใช้แสดงผลลัพธ์ที่เป็นเสียง ทั้งที่เป็นเสียงเพลง เสียงประกอบโปรแกรมต่าง ๆ เช่น เกมส์ ตลอดจนเป็นเสียงเตือนเมื่อเครื่องต้องการให้เราดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือใช้ระบุเวลาเกิดความผิดพลาดขึ้น
ลำโพง ( Speaker )

หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )

หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )
หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU ) หมายถึงหน่วยที่ใช้ในการควบคุมและประมวลผลข้อมูล บางครั้งก็เรียกว่าตัวประมวลผล ( Processor ) หรือถ้าเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นิยมเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ( Microprocessor ) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่
1. หน่วยควบคุม ( Control Unit ) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์ ทั้งการควบคุมการอ่านคำสั่งและข้อมูลมาบันทึกในหน่วยความจำ ควบคุมการนำคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำมาดำเนินงาน ควบคุมการจัดทำผลลัพธ์
              2. หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic and Logical Unit ) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่คำนวณและประมวลผลตามคำสั่งที่กำหนด โดยใช้วงจรคำนวณที่ซับซ้อน


หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU)

หน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง ( Input Device)

หน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง ( Input Device
หน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง ( InputDevice) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่รับโปรแกรม คำสั่ง และข้อมูล เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปดำเนินการ อุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่
- แป้นพิมพ์ ( Keyboard) เป็นอุปกรณ์คล้ายแป้นพิมพ์ดีด สำหรับใช้พิมพ์คำสั่งและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

แป้นพิมพ์ ( Keyboard)
 - เมาส์ ( Mouse ) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กวางบนโต๊ะสำหรับใช้ขยับเลื่อนไปมาเพื่อให้ตัวชี้เมาส์ (Mouse Pointer) ซึ่ง มักจะมีลักษณะเป็นหัวลูกศร เพื่อใช้ชี้ตำแหน่งบนจอภาพเลื่อนตามไปในทิศทางที่ต้องการ เป็นเสมือนตัวแทนที่เป็นมือของเราในการทำงานในโปรแกรมบนหน้าจอ
เมาส์ ( Mouse )

 - สแกนเนอร์ ( Scanner ) เป็น อุปกรณ์สำหรับอ่านภาพ เพื่อบันทึกลวดลายและสีสันของภาพต้นฉบับ อุปกรณ์ชนิดนี้มีทั้งแบบที่อ่านได้ทั้งภาพสีและภาพขาวดำ นอกจากนั้นยังมีชนิดที่อ่านข้อความได้ด้วย

สแกนเนอร์ ( Scanner )

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ส่วนประกอบ

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ 
 
มนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด"
ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ


  • ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู 
  • ชิปเซ็ต (Chip set)
  • ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
  • ระบบบัสและสล็อต
  • Bios
  • สัญญาณนาฬิกาของระบบ
  • ถ่านหรือแบตเตอรี่
  • ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
  • ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
  • จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
  • ขั้วต่อ IDE
  • ขั้วต่อ Floppy disk drive
  • พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
  • พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
  • พอร์ต USB